วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ภูมิประเทศ



ลักษณะภูมิประเทศ  หมายถึง  ลักษณะของแผ่นดินที่อาจมีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ เป็นภูเขา ที่ราบ ที่ราบสูง  แม่น้ำ หนอง บึง ซึ่งลักษณะภูมิประเทศแต่ละแบบต่างมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากร ความเป็นอยู่ของประชากรที่อาศัยในภูมิประเทศนั้นก่อให้เกิดอาชีพสำคัญที่แตกต่างกัน เช่น บริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบริมฝั่งแม่น้ำมักมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น  มีอาชีพทำการประมง  และทำการเพาะปลูกเป็นอาชีพหลัก ส่วนบริเวณที่สูงหรือแถบเทือกเขามักมีประชากรเบาบางประกอบอาชีพ เช่น ทำป่าไม้  ทำเหมืองแร่  หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ตามแต่ทรัพยากรในบริเวณนั้นๆ  

1. ลักษณะของเปลือกโลกมีลักษณะรูปแบบต่างๆ กัน บางบริเวณมีลักษณะไม่ราบเรียบ สูงๆ ต่ำๆ บางบริเวณเป็นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึง บางบริเวณเป็นที่สูง เป็นกรวดเป็นทรายกว้างขวาง บางบริเวณเป็นภูเขาสูงสลับกับหุบเขาลึก ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศตามสภาพสูงต่ำของเปลือกโลกได้ 3 รูปแบบ ได้แก่

1.1. 1. ที่ราบ (plain) หมายถึง พื้นผิวโลกที่เป็นที่ราบเรียบหรือขรุขระก็ได้ โดยมีความต่างระดับในท้องถิ่น ( local relief)ไม่เกิน 150 เมตร และโดยปกติจะอยู่สูงกว่าระดับทะเลไม่เกิน 100 เมตร ความแตกต่างระหว่างพื้นที่ระหว่างที่ต่ำกับที่สูงจะมีไม่มากนัก โครงสร้างของหินที่รองรับจะวางตัวอยู่ในแนวราบหรือเกือบราบ ลักษณะที่ราบจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1.1.1. 1.1 ที่ราบแม่น้ำ (river plains) หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ (allurival plains) เป็นที่ราบที่มีลักษณะสำคัญคือมีแม่น้ำไหลผ่านบนพื้นที่ของที่ราบ และปรากฏลักษณะชัดเจนในบริเวณปากแม่น้ำ นอกจากนี้บริเวณที่ราบแม่น้ำจะมีลักษณะภูมิประเทศอื่นปะปนอยู่ด้วย เช่น 1.ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแม่น้ำ (deltaic plains) เกิดจากแม่น้ำนำตะกอนดินมาทับถมให้ตื้นเขินขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำ 2.ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plains) เป็นที่ราบที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีน้ำท่วมเอ่ออยู่เป็นเวลานาน3.ลานตะพักลำน้ำ (river tereace) เป็นที่ราบริมแม่น้ำที่แม่น้ำกัดเซาะพื้นผิวโลก และนำตะกอนมาทับถมไว้


1.1.2. 1.2 ที่ราบชายฝั่ง (coastal plains) เป็นที่ราบที่เกิดบริเวณชายฝั่งทะเลโดยคลื่นและกระแสลมจะพัดพาเอาโคลน ทราย และตะกอนต่างๆ มาทับถมไว้ที่ชายฝั่ง ลักษณะที่ราบชายฝั่งทะเลมีหลายลักษณะ เช่น 1.ที่ราบชายฝั่งทะเลทั่วไปเมื่อคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง 2.ที่ราบบางแห่งเป็นพื้นที่กว้างขวางมีภูเขาโดดๆ 3.ที่ราบบางแห่งเป็นที่ราบแคบๆ ชายฝั่ง


1.1.3. 1.3 ที่ราบดินตะกอนเชิงเขา (piedmont alluvial plains) เป็น ที่ราบที่เกิดจากน้ำและลมพัดพาดินตะกอนจากภูเขามาทับถมไว้บริเวณเชิง เขา ซึ่งจะกระจายแผ่ออกเป็นลักษณะดินตะกอนรูปพัด ถ้าเป็นแนว ภูเขาต่อเนื่องกันยาว อาจเกิดเป็นดินตะกอนรูปพัดหลายๆ อันต่อเนื่องกันเป็นผืนกว้างขวาง บริเวณที่ราบดินตะกอนเชิงเขาจะประกอบด้วยดินหยาบๆ และกรวดซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ กรวดเหล่านี้จะอยู่ชั้นล่าง ส่วนที่เป็นดินทับอยู่ข้างบน ลักษณะเช่นนี้จะระบายน้ำได้ดี


1.1.4. 1.4 ที่ราบธารน้ำแข็ง ใน พื้นที่ที่เป็นเขตหนาวและเขตอบอุ่น จะปรากฏที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งกัดกร่อนเปลือกโลกให้ราบลง ที่ราบที่เกิดจากธารน้ำแข็งจะมีร่องรอยของการขูดครูด ทำให้เกิดทะเลสาบหรือแอ่งน้ำกระจายอยู่ทั่วไป แหล่งน้ำเหล่านี้มีขนาดต่างๆ กัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากธารน้ำแข็งขุดลึกลงไปในเปลือกโลก

1.1.5. 1.5 ที่ราบภายในทวีป เป็นที่ราบที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของผืนทวีปหรือเปลือกโลก ทำให้ท้องทะเลบางแห่งภายในผืนทวีปตื้นเขินขึ้นกลายเป็นที่ราบซึ่งจะมีพื้นที่กว้างขวางมาก ได้แก่ เกรตเพลนส์ (great plains) ในทวีปอเมริกาเหนือ มีพื้นที่บริเวณกว้างจากตะวันตกของสหรัฐอเมริกาเข้าไป

1.2. 2. ที่ราบสูง (plateau) หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบ ส่วนใหญ่มักเป็นบริเวณที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่ เป็นพื้นที่ที่มีความต่างระดับมากกว่า 150 เมตร (ความสูงในท้องถิ่นมากกว่า 150 เมตร) และสูงกว่าระดับทะเลตั้งแต่ 100 เมตร จนถึง 1,500 เมตร ส่วนโครงสร้างของหินที่รองรับวางตัวอยู่ในแนวระนาบหรือเกือบราบ โดยมีขอบชันหรือผาชัน (escarpment) อยู่อย่างน้อยหนึ่งด้าน หรือมีทิวเขากั้นเป็นขอบอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะที่ตั้งมี 3 รูปแบบ คือ ที่ราบสูงระหว่าง ภูเขา ที่ราบสูงเชิงเขา และที่ราบสูงทวีป ลักษณะที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ที่ราบสูงหินแนวราบ ที่ราบสูงหินผิดรูป ที่ราบสูงหินลาวา



ที่ราบสูงหินผิดรูป


ที่ราบสูงหินลาวา

        1.3. 3. ภูเขาและเนินเขา (mountains and hills) หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากบริเวณ                รอบๆ ทั้งภูเขาและเนินเขา มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไปเหมือนกัน แตกต่างอยู่ที่ความต่าง              ระดับและความลาดชัน (slope) ภูเขาจะมีความต่างระดับซึ่งเป็นที่สูงเกิน 500 เมตร ส่วนเนินเขา              เป็นพื้นที่ที่มีความสูงน้อยกว่า (ประมาณ 150-500 เมตร) ความไม่ราบเรียบของภูเขาและเนินเขา           ขึ้นอยู่กับการวางตัวของหิน ทำให้แบ่งลักษณะภูเขาและเนินเขาออกเป็น 4 รูปแบบ คือ

1.3.1. 3.1 ภูเขาโก่ง (folded Mountains) หรือ fold ภูเขาประเภทนี้มีมากที่สุดและเป็นภูเขาที่สำคัญ เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกเนื่องจากได้รับแรงกดและแรงบีบ ส่วนที่โก่งขึ้นเรียกว่า โค้งรูปประทุนหรือกระทะคว่ำ (anticline) ส่วนที่โก่งลงเรียกว่า โค้งรูปประทุนหงายหรือกระทะหงาย (syncline) ตัวอย่างภูเขาที่ขึ้นชื่อของโลกคือ เทือกเขาร็อกกี (Rocky) เทือกเขาแอนดีส (Andes) เทือกเขาแอลป์ (Alps) เทือกเขาจูรา (Jura) ในทวีปยุโรป


1.3.2. 3.2 ภูเขาบล็อก (fault-block mountains) เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลกในลักษณะของรอยเลื่อนหรือรอยเหลื่อม (faulting) คือ เกิดแนวแตกของเปลือกโลกซีกหนึ่งจมยุบลงและดันให้อีกซีกหนึ่งยกตัวขึ้นสูงเป็นภูเขา

1.3.3. 3.3 ภูเขาโดม (dome mountains) เกิดจากการดันตัวของหินละลาย (lava) หรือหินหนืด (magma) ภายในโลก พยายามแทรกเปลือกโลกแต่ไม่สามารถดันออกมาภายนอก จึงแข็งตัวภายใต้เปลือกโลก เมื่อหินที่ปกคลุมอยู่เดิมสึกกร่อนไปหมด จะเหลือแต่แกนหินซึ่งเป็นหินอัคนีซึ่งเกิดจากการดันตัวของหินละลาย

1.3.4. 3.4 ภูเขาไฟ (Volcanic Mountains) เกิดจากการดันตัวของหินละลาย (lava) และหินหนืด (magma) ที่ขับออกมาตามรอยแตกแยกของเปลือกโลกคือ ออกมาภายนอกโลกได้ ทำให้เกิดมูลภูเขาไฟ (cinders) เถ้าถ่าน ฝุ่นละออง และโคลนเหลวไหลปลิวตกรอบๆ ปล่องภูเขา ภูเขาไฟจึงมีรูปร่างคล้ายกับกรวยหรือรูปฝาชีเพราะการไหลของลาวากระจายออกมาเสริมรูปร่างของภูเขา บริเวณภูเขาไฟและที่ใกล้เคียงจะพบหินซึ่งมีรูพรุนที่เกิดจากฟองอากาศ ถ้าเป็นภูเขาไฟซึ่งมีการระเบิดรุนแรง จะพบวัตถุภูเขาไฟ

2. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏเด่นชัด (Major Landforms) มี 3 อย่างที่เด่นชัด

2.1. 1.ภูเขา (Mountain) หมายถึงผืนดินบริเวณที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันฟุต เมื่อเทียบกับบริเวณโดยรอบ ภูเขาส่วนใหญ่มีฐานกว้าง และมียอดเขา (Peak) แหลม ยอดเขาคือส่วนที่มีลักษณะแหลมบนยอดของภูเขา ภูเขาเกิดขึ้นได้โดยหลายวิธีด้วยกัน ภูเขาอาจก่อตัวขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลก (Tectonic Plate) สองแผ่นเข้าปะทะกัน และทำให้แผ่นดินบางส่วนถูกดันขึ้นจนเป็นภูเขา “เทือกเขาหิมาลัย” (The Himalayas Mountain Range) ในทวีปเอเชียเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการก่อตัวของภูเขาในแบบนี้ ภูเขาบางลูกอาจเกิดขึ้นตามรอยเลื่อน (Fault) หรือรอยแยกของเปลือกโลก


2.2. 2.เนินเขา (Hill) หมายถึงผืนดินที่มีความสูงมากกว่าบริเวณรอบๆ และมียอดโค้งมน ซึ่งเนินเขาจะมีขนาดเล็กกว่า และพื้นดินจะสลับซับซ้อนน้อยกว่าภูเขา


2.3. 3.ที่ราบ” (Plain) หมายถึงพื้นดินที่ราบเกือบเสมอกันหมด ประชากรมากกว่าครึ่งบนโลกของเราอาศัยอยู่บนที่ราบ ซึ่งเป็นลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่มากกว่า 55เปอร์เซ็นต์บนผิวโลก การก่อสร้างเมืองบนที่ราบนั้นง่ายกว่ามาก และการเดินทางบนที่ราบก็เช่นกัน ที่ราบส่วนใหญ่บนโลกเป็นผืนแผ่นดินที่สมบูรณ์ และพืชผลทางการเกษตรส่วนใหญ่ของโลกเราก็ปลูกบนที่ราบ




อ้างอิง

https://www.google.co.th/search?biw=911&bih=385&tbm=isch&sa=1&ei=vcPZW8HxLYqmoATYl7jQCg&q=landfrom&oq=landfrom&gs_l=img.3..0i10i19k1l2.54366.64184.0.64555.11.11.0.0.0.0.356.2462.2-3j5.8.0....0...1c.1.64.img..3.8.2461.0..0j0i19k1j0i30i19k1.0.9CmRHNVr0EA#imgrc=RUyIwvDanUihHM:

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwj2hMWn9rDeAhUKeisKHTsPC5oQ_AUIDigB&biw=911&bih=417


https://www.mindmeister.com/962637040/_


https://www.google.co.th/search?hl=th&tbm=isch&sa=1&ei=W7vZW4TkBsX99QP6-oeQBA&q=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%87&oq=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%87&gs_l=img.3..0j0i24k1l4.424755.426379.0.427202.2.2.0.0.0.0.290.290.21.1.0....0...1c.1.64.img..1.1.290.0...0.9rbfbmtJtc#imgdii=zFH2fre4nL0QKM:&imgrc=5kQ3Kp-ocO4_KM:


https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiMlqev8bDeAhUGeysKHfb-CaYQ_AUIDigB&biw=911&bih=385#imgrc=y7RCTXvLtZ1GrM:


https://www.google.co.th/search?hl=th&tbm=isch&sa=1&ei=z7rZW4iwAYOS9QPr2rGwBw&q=%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B&oq=%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B&gs_l=img.3...134264.135414.0.136762.2.2.0.0.0.0.487.487.4-1.1.0....0...1c.1.64.img..1.0.0.0...0.Wf4utVt0KuQ

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9F&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjC28W59rDeAhVFVH0KHZZvCJ8Q_AUIDigB











วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วัฏจักรหิน




วัฏจักรหิน

        นักธรณีวิทยาแบ่งหินออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะของการเกิดได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร เมื่อหินหนืดร้อนภายในโลก (Magma) และ หินหนืดร้อนบนพื้นผิวโลก (Lava) เย็นตัวลงกลายเป็น “หินอัคนี” (Igneous rocks) ลมฟ้าอากาศ น้ำ แสงแดด และสิ่งมีชีวิต ทำให้หินผุพังสึกกร่อนเป็นตะกอนทับถมกัน เป็นเวลานานหลายล้านปี แรงดันและปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดการรวมตัวเป็น “หินตะกอน” (Sedimentary rocks) การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและความร้อนจากแมนเทิลใต้เปลือกโลก ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็น “หินแปร” (Metamorphic rocks)  กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นวงรอบเรียกว่า “วัฏจักรหิน” (Rock cycle) อย่างไรก็ตามกระบวนการของวัฏจักรหินไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามที่กล่าวมาแล้ว การเปลี่ยนแปลงของหินอาจเกิดขึ้นย้อนกลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม 

วัฏจักรการเกิดหินสามประเภท
  • แมกมาใต้เปลือกโลกมีความอุณหภูมิและแรงดันสูงแทรกตัวขึ้นสู่พื้นผิว แมกมาที่ตกผลึกภายในเปลือกโลกกลายเป็นหินอัคนีแทรกซอน (มีผลึกขนาดใหญ่) ส่วนลาวาที่เย็นตัวบนพื้นผิวกลายเป็นหินอัคนีพุ (มีผลึกขนาดเล็ก
  • หินทุกชนิดเมื่อผุพัง สึกกร่อน จะถูกพัดพาให้เป็นตะกอนทับถมและกลายเป็นหินตะกอน 
  • หินทุกชนิดเมื่อถูกกดดัน หรือทำให้ร้อน เนื้อแร่จะตกผลึกใหม่กลายเป็นหินแปร 
  • หินทุกชนิดเมื่อจมตัวลงใต้เปลือกโลก จะหลอมละลายกลายเป็นแมกมา แรงดันทำให้มันแทรกตัวขึ้นสู่เปลือกโลกอีกครั้งหนึ่ง และเย็นตัวลงกลายเป็นหินอัคนี

ประเทศมัลดีฟท์




ประเทศมัลดีฟส์

             มัลดีฟส์ (อังกฤษMaldives) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐมัลดีฟส์ (อังกฤษRepublic of Maldivesมัลดีฟส์) เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการังจำนวนมากในมหาสมุทรอินเดีย และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกา

ภูมิศาสตร์

            พื้นที่ความยาวจากเหนือจรดใต้ 821 กิโลเมตร จากตะวันออกจรดตะวันตก 120 กิโลเมตร แต่เป็นพื้นที่ดินรวมเพียง 300 ตารางกิโลเมตรมีจุดสูงสุดเพียง 2.3 เมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะปะการัง 26 กลุ่ม (atoll) รวม 1,190 เกาะ มีประชากรอาศัยอยู่เพียงประมาณ 200 เกาะ และได้รับการพัฒนาเป็นโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยว 74 เกาะ

สภาพอากาศ
         ภูมิอากาศเป็นแบบเขตร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 27 – 30 เซลเซียส (18-90 ฟาเรนไฮต์) ตลอดทั้งปีช่วงที่ปราศจากมรสุม ได้แก่ ช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม

เชื้อชาติ

       ชนพื้นเมืองที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในประเทศมัลดีฟส์ คือกลุ่มผู้ใช้ตระกูลภาษาอินโด-อารยัน ซึ่งอพยพมาจากศรีลังกา เมื่อหลายศตวรรษแล้ว และเป็นบรรพบุรุษของชาวมัลดีฟส์ในปัจจุบันพยพเข้ามา ต่อมาในศตวรรษที่ 12 ก็มีชาวแอฟริกัน และชาวอาหรับ อพยพมาอยู่อาศัยกัน

มาเล เป็นเมืองหลวงของประเทศมัลดีฟท์
สกุลเงิน
      ประเทศมัลดีฟส์ใช้ค่าเงิน รูฟียาห์ การใช้จ่ายส่วนใหญ่จะใช้เป็นเงินสด 
อัตราแลกเปลี่ยน 
เงินตราของมัลดีฟส์คือ Rufiyaa และLaaree. 
อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่อ 1 US Dollar ประมาณ MRf.12.75 
ค่าของเงิน 1 Rufiyaa เท่ากับ 100 laarees. 
ธนบัตรมีอัตรา 5, 10, 20, 50, 100 และ 500 
เหรียญแบ่งเป็น MRf.2.00, MRf.1.00, 50 laarees, 20, 10, 5, 2 และ1 laaree.


สินค้าที่ห้ามนำเข้ามัลดีฟส์
     >>  วัตถุที่สื่อถึงการต่อต้านศาสนาอิสลาม
     >> วัตถุบูชา
      >> หนังสือ สิ่งพิมพ์ลามก
      >> ยาที่ออกฤทธิ์ทำให้ง่วง
      >> หมู


สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติเมื่ออยู่ในมัลดีฟส์
      ไม่ควรนำทราย หอย ปะการัง ปลาทะเล และสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติออกจากมัลดีฟส์
       การเปลือยกายในที่สาธารณะ เป็นเรื่องผิดกฎหมาย
       ไม่ควรตกปลาในบริเวณที่พัก หากชื่นชอบกีฬาตกปลา ควรติดต่อขอข้อมูลจากทางรีสอร์ท
       สุภาพสตรีไม่ควรสวมสายเดี่ยว เกาะอก กางเกงขาสั้นเที่ยวในเมืองมาเล เนื่องจากในเมืองเคร่งครัดเรื่องศาสนา ผู้หญิงท้องถิ่นจะแต่งกายมิดชิดมาก

สถานที่ท่องเที่ยวเกาะมัลดีฟ

   รีสอร์ทเกาะ Biyadhoo

          รีสอร์ทบนหาดทรายแสนสงบบนหมู่เกาะมัลดีฟที่ชื่อว่า Biyadhoo Island Resort ที่นี่เป็นรีสอร์ทที่ขึ้นชื่อว่าเป็น รีสอร์ทที่ดีที่สุดของมัลดีฟส์เลยก็ว่าได้ เกาะแห่งนี้คุณจะได้ทำกิจกรรมทางน้ำต่างๆมากมายทั้งดำน้ำ ว่ายน้ำ ล่องเรืออกไปดูปะการัง และอีกมากมาย ซึ่งจุดที่สามารถดำน้ำได้ของเกาะแห่งนี้มีถึง 35 จุดด้วยกัน มีทั้งใกล้หาดทรายและต้องนั่งเรือออกไป ซึ่งบางทีก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและคลื่นลมด้วย ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่สนใจกิจกรรมทางน้ำหรือชอบที่จะมานั่งชิว relax บนรีสอร์ทสวยๆริมหาด

   พิพิธพัณฑ์สถานแห่งชาติมัลดีฟท์

         พิพิธพัณฑ์สถานแห่งชาติของมัลดีฟส์ตั้งอยู่ที่ Male ซึ่งในอาคารนั้นมีสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศแห่งนี้รวบรวมไว้หลายชนิดรวมกันนับพัน แต่เดิมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งนี้เป็นอาคาร 3 ตอนซึ่งเป็นอาคารส่วนที่เหลือจากพระราชวังมัลดีฟ์เวี่ยน แต่พิพิธภัณฑ์ที่เห็นแห่งนี้เป็นอาคารที่ถูกสร้างใหม่โดยรัฐบาลจีน ซึ่งสมบัติและสิ่งของสมัยโบราณต่างๆได้ถูกย้ายมาที่นี่ทั้งหมด และเปิดให้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอย่างเป็นทางการเมื่อ 26 กค. 2010 

แนวปะการัง HP

       แนวปะการัง HP เป็นหนึ่งในฐานดำน้ำที่ดีที่สุดบนเกาะมัลดีฟ เป็นที่ที่คุณจะได้พบกับปะการังสุดสวยหลากสีเรียงรายเป็นแนวยาวพร้อมกับปลาแปลกตาแถมหลากสีใต้น้ำ แนวปะการัง HP นั้นตั้งอยู่ที่ตอนเหนือของเกาะ Male 

   เกาะ Alimatha


      เกาะ Alimatha ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเกาะ Vaavu ทางตะวันออกของอาณาเขตเกาะมัลดีฟทั้งหมด ที่นี่นักท่องเที่ยวจะได้รับประสบการณ์สุดยอดของการมาเที่ยวมัลดีฟได้ทั้งหมด ทั้งการดำน้ำระดับ world class, ดำน้ำดูปลาหลากหลายชนิด, ชายหาดขาวเนียนนุ่มแสนสวยที่เพียบพร้อมไปด้วยเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพ นอกจากนั้นทั้งเกาะแห่งนี้ยังมีพืชพันธุ์สีเขียวขึ้นร้อมลอบตัวเกาะดูสวยงามมากอีกด้วย


  Bluetribe Moofushi


       Bluetribe Moofushi diving center มอบประสบการณ์กิจกรรมทางน้ำได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ เซิฟ, ดำน้ำ, ประดาน้ำ, คายัก, เรือใบเล็กใหญ่ และอีกมายมาก Moofushi ยังมีชื่อเสียงเป็นในด้านจุดชมวิวสุดสวยที่คุณสามารถมองเห็น ปลาฉลามวาฬ, manta rays และปลาหลากหลายชนิดจากบนที่พักของคุณ









อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B9%8C#%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4

https://www.youtube.com/watch?v=NEk3srfx4WE

https://www.google.co.th/search?biw=911&bih=385&tbm=isch&sa=1&ei=qqjZW-F0xP7yBYrOrIAN&q=++Bluetribe+Moofushi&oq=++Bluetribe+Moofushi&gs_l=img.3..0j0i24k1.297721.299361.0.300883.2.2.0.0.0.0.1302.1302.7-1.1.0....0...1c.1.64.img..1.1.1300.0...0.1d0AtjSy8YM

https://www.google.co.th/search?biw=911&bih=385&tbm=isch&sa=1&ei=16fZW-uwB5W7rQHc1qv4AQ&q=+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0+Alimatha&oq=+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0+Alimatha&gs_l=img.12...201784.203469.0.208215.2.2.0.0.0.0.0.0..0.0....0...1c.1.64.img..2.0.0.0...0.SjVA7kYPhOk#imgrc=a7SrtPAO7_fe-M:

http://www.packagemaldives.com/MaldivesGuide/FAQ.html

https://amazingthaisea.com/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9F-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9F/

https://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9F&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiZ5a_L2LDeAhUXeysKHTvlArIQ_AUIDigB&biw=911&bih=385

https://travel.kapook.com/view39705.html

https://www.google.co.th/search?tbm=isch&q=%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0+biyadhoo&chips=q:%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0+biyadhoo,online_chips:biyadhoo+island&sa=X&ved=0ahUKEwjg_vn72rDeAhXCdysKHX11D0YQ4lYIJygB&biw=911&bih=385&dpr=1.5

https://www.google.co.th/search?biw=911&bih=385&tbm=isch&sa=1&ei=M6TZW4ixNYX_rQGyy4iwDw&q=%E0%B8%9E%E0%

https://www.google.co.th/search?biw=911&bih=385&tbm=isch&sa=1&ei=gaXZW_uuGIed9QPfnrG4CA&q=%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87+hp&oq=%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87+hp&gs_l=img.3...237453.246558.0.246877.14.12.0.2.2.0.323.1735.2-6j1.7.0....0...1c.1.64.img..5.8.1427.0..0j0i24k1.0.swsuijBnxeA


https://www.youtube.com/watch?v=NEk3srfx4WE